"...ท่าม กลางตอไม้นับแสน ๆ ตอมีการค้นพบพระพุทธรูปสูงใหญ่ปางมารวิชัย สมัยขอมเรืองอำนาจ ราวพุทธศตวรรษที่ 17ทำด้วยหินทรายสีคล้ายดินลูกรังแดงอมส้ม หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูง 2.10 เมตร นั่งประทับบนหินทรายที่นำมาเรียงกันเป็นแท่นหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังองค์พระพุทธรูปพิงกับต้นมะค่าแต้ซึ่งเคยเกิดไฟไหม้แต่องค์พระพุทธรูปมิได้รับความเสียหายแต่ประการใด จึงที่เคารพสักการะของบุคคลทั่วไปตั้งชื่อตามลักษณะที่พบพระพุทธรูปว่า“ หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ ”ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านทุ่งวัง
ความเป็นมาการก่อตั้งหมู่บ้าน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและภาพถ่ายทางอากาศยืนยันได้ว่า บ้านทุ่งวังซึ่งตั้งอยู่ระวางหมายเลข 3639 #พิกัด 2686 (ระวางแผนที่ภูมิประเทศ ชุด L7017มาตราส่วน 1:50,000 สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สาขาสตึก) มีการตั้งถิ่นฐานของมนูษย์ซึ่งเลือกชัยภูมิเป็นเนินดินสูง บ้านทุ่งวังเคยเป็นชุมชนโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล ลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินดินสูงคูน้ำล้อมรอบสองชั้นเพื่อใช้เป็นปราการ ป้องกันการรุกรานจากข้าศึกและศัตรู มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นรอบ ๆ คูนำเต็มไปด้วยป่าไม้ไผ่และต้นไทรย้อยระโยงระยาง ส่วนเนินดินที่เป็นที่สูงพอที่คนโบราณจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ในคราวน้ำ หลากหรือน้ำท่วม จากการสำรวจจะพบว่าตามผิวดินของเนินซึ่งเป็นที่สูงจะมีวัตถุที่ทำจากสำริด นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกของมนุษย์โบราณ พบทั้งที่ยังอยู่ในสภาพทึ่สมบูรณ์และที่ไม่สมบูรณ์ สำหรับโครงกระดูกที่ชาวบ้านพบจะนำไปเผาแล้วทำบุญที่วัด หลักฐานที่เห็นได้ คือ หลุมศพที่พบตลอดระยะเวลาของการอยู่อาศัยของชุมชนนี้ จะพบว่าโครงกระดูกส่วนมากจะอยู่ในภาชนะเครื่องปั้นดินเผาบางโครงก็มีมาก บางโครงก็มีน้อย จากการได้สอบถามเกี่ยวกับ เรื่องโครงกระดูกที่สมบูรณ์มาก ตอนที่พวกเขาขุดหลุมใส่ท่อส้วม คือขุดลงไประมาณ 12 ท่อน ทำเลที่ตั้งของบ้านทุ่งวัง ในอดีตเป็นที่หลบซ่อนของนักโทษหนีการเกณฑ์ทหาร โจรปล้นจี้ การดำรงชีวิตของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษาอ่านหนังสือไม่ออก จะอยู่แบบหวาดระแวงซึ่งกันและกัน เกรงว่าจะมีบุคคลอื่นมาปล้นจี้ ทรัพย์สินมีค่าของตน หรือทางราชการจะเข้ามาจับกุมไปลงโทษตามกฏหมายบ้านเมือง เลี้ยงชีพด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์เป็นอาหาร มีอาชีพรับจ้างเลื่อยไม้ และเจาะต้นยางโดยการเผาเพื่อนำน้ำยางมาทำเป็นขี้ไตเชื้อเพลิงที่ให้ความร้อน และแสงสว่างขาย จึงต้องอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ นั่นคือที่มาของชุมชนโบราณบนเนินสูงทางทิศตะวันออกชื่อว่าบ้านทุ่งวัง ซึ่งมีความหมายดังนี้ "ทุ่ง" หมายถึงพื้นที่ราบ "วัง" หมายถึง แหล่งน้ำ "ทุ่งวัง" หมายถึง พื้นที่ราบที่ล้อมรอบด้วยแหล่งน้ำ ในอดีตหมู่บ้านทุ่งวังมีหนองน้ำล้อมรอบ เพื่อใช้เป็นปราการป้องกันข้าศึกศัตรูของหมู่บ้านหนองเกาะน้อยได้เป็นอย่าง ดี รอบ ๆ คูน้ำเต็มไปด้วยป่าไม้ไผ่ขึ้นอย่างหนาทึบ ใช้เป็นสถานที่เลี้ยงช้าง และสำหรับหลบซ่อนตีมีด ตีดาบเพื่อใช้เป็นอาวุธป้องกันตนเองและศัตรู ยังปรากฎร่องรอยเศษตะกรันเหล็กที่เกิดจากการเทเตาหลอมปะปนกับชั้นดินอยู่ ทั่วไป การสัญจรระหว่างหมู่บ้านหนองเกาะน้อยกับหมู่บ้านข้างเคียงใช้เกวียนเทียม ด้วยควายเป็นพาหนะ โดยมีต้นยางใหญ่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านหนองเกาะน้อยโค่นล้มขวางและพาดเป็น สะพานระหว่างหมู่บ้านหนองเกาะน้อยกับบ้านทุ่งวัง ปัจจุบันต้นยางใหญ่ดังกล่าวถูกฝังทับด้วยดินเพื่อสร้างเป็นถนนภายในหมู่บ้าน (บริเวณหน้าบ้านนายพิชิต ไชยพิมพ์ กับหน้าบ้านนายยุทธกรณ์ บัวครัง) 1) เนินสูงโรงเรียนบ้านทุ่งวังเก่า (ปัจจุบันถูกปรับพื้นที่ให้เป็นที่ราบใช้เป็นที่ตั้งสถานีตำรวจชุมชนตำบล ทุ่งวัง และสถานที่จ่ายน้ำประปาหมู่บ้านทุ่งวัง) ท่ามกลางตอไม้นับแสน ๆ ตอมีการค้นพบพระพุทธรูปสูงใหญ่ปางมารวิชัย สมัยขอมเรืองอำนาจ ราวพุทธศตวรรษที่ 17ทำด้วยหินทรายสีคล้ายดินลูกรังแดงอมส้ม หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูง 2.10 เมตร นั่งประทับบนหินทรายที่นำมาเรียงกันเป็นแท่นหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังองค์พระพุทธรูปพิงกับต้นมะค่าแต้ซึ่งเคยเกิดไฟไหม้แต่องค์พระพุทธ รูปมิได้รับความเสียหายแต่ประการใด จึงที่เคารพสักการะของบุคคลทั่วไปตั้งชื่อตามลักษณะที่พบพระพุทธรูปว่า “ หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ ” |
หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอเป็นโบราณวัตถุอันเป็นที่เคารพ สักการะคู่บ้านทุ่งวังมาตั้งแต่อดีต สันนิษฐานว่าประมาณปี พ.ศ. 2433 ชาวบ้านได้พร้อมใจกันสร้างที่บังแดดบังฝนขึ้นครอบองค์พระพุทธรูปหลวงพ่อใหญ่ ดงแสนตอเป็นครั้งแรก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันพระพุทธรูปมิได้เคลื่อนย้ายไปที่แห่งใดเลยแม้ว่าจะมี การสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ตามแปลนกรมศิลปากร ( หลักฐานสมุดบันทึกของอธิการพุฒกิตติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดโนนสูงทุ่งสว่าง อ้างถึงใน วิมล แต้มสีคราม, 2542 )
ปาฏิหาริย์หลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ ปัจจุบันผู้ที่สักการะเคารพบูชาเหรียญของหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ รุ่นที่ 1 (สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515) เชื่อว่าสามารถคุ้มครองอุบัติเหตุทางบกหรือบุคคลใดที่เข้าไปถ่ายรูปหลวงพ่อ ใหญ่แสนตอภายในโบสถ์ หากไม่ได้จุดธูปเทียนบอกกล่าวให้ท่านทราบก่อนมักจะถ่ายรูปองค์พระพุทธรูปไม่ ติดฟิล์มจะมีสีดำมัว ๆ ปัจจุบันมีการจัดงานฉลองสมโภชน์ในเดือนเมษายน ทุก ๆ ปี |
ข่าว/ภาพที่เกี่ยวข้อง :|งานมัสการหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ ปี 2557| |งานมัสการหลวงพ่อใหญ่ดงแสนตอ ปี 2557| |Fanpage ร.ร.บ้านทุ่งวัง| |Google+|
ข้อมูล : วิมล แต้มสีคราม [เอกสารทางวิชาการ เพื่อเสนอและกำหนดตำแหน่งครู คศ.3 โรงเรียนบ้านทุ่งวัง. 2546
ภาพถ่าย : ได้รับความอนุเคราะห์จาก อ.ประจวบ ปิงกุล โรงเรียนบ้านทุ่งวัง
ผู้เขียน/ภาพ : ดร.สุวัฒน์ อุ่นทานนท์ โรงเรียนบ้านทุ่งวัง