ในปัจจุบันกระแสทุนนิยมครอบงำ...มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในพื้นบริเวณที่ ลุ่มน้ำ โดยมีสาเหตุหลักมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามประชากรในชุมชน ทำให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมีมากเกินความสามารถที่ธรรมชาติจะ ผลิตให้ได้ รวมทั้งเป็นผลมาจากการใช้เครื่องมือที่รุนแรงในการเก็บเกี่ยวประโยชน์จาก ธรรมชาติ เช่นการใช้ระเบิดและไฟฟ้าในการจับปลา นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสมดุลทางธรรมชาติ เช่น การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ การขุดลอกแหล่งน้ำในชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ การทำเกษตรที่ใช้สารพิษและสารเคมีต่าง ๆ เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการพัฒนาที่ผ่านมานั้นได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบ นิเวศของลุ่มน้ำได้รับผลกระทบจนเกิดความเสียหาย โครงการดังกล่าวสืบเนื่องจากการที่มีนักวิชาการ ครู ชาวบ้าน และเด็กนักเรียนได้ร่วมกันศึกษาพื้นที่กุดซินเพื่อที่จะอนุรักษ์กุดซินให้ เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนตำบลสะแก ตลอดระยะเวลาของศึกษาและที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม ทำให้เห็นการพัฒนาแหล่งน้ำในท้องถิ่นโดยองค์กรชุมชนในท้องถิ่นและนักวิชาการ เข้ามามีส่วนร่วม และเมื่อโครงการ...ซึ่งเปิดโอกาสและสร้างความเข้าใจกับผู้นำ ชาวบ้าน คณะกรรมการในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียงได้ร่วมศึกษาเรียนรู้พื้นที่กุดซิน ทำให้เห็นว่าชาวในชุมชนท้องถิ่นตำบลสะแกและพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้าใจใน ทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่กุดซินและต้องการอนุรักษ์พื้นที่กุดซินร่วมกัน มากขึ้น สามารถตั้งกฎระเบียบและแนวทางพัฒนาในโอกาสต่อไปได้อีกทั้งยังสามารถที่จะ ขยายผลต่อไปในชุมชนใกล้เคียงเป้นอย่างดี ด้วยความตั้งใจของคนในชุมชน
โดยเริ่มจากคนบางคนในหมู่บ้านกลายมาเป็นคนทั้งหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงได้ นับได้ว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนาแหล่งน้ำในท้องถิ่น
เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนที่เกิดจากคนในชุมชนอย่างแท้จริง
ที่มาของคำว่า ..กุดซิน...
เมื่อก่อนชาวบ้านไม่ได้เรียกชื่อว่า ....กุดซิน.... ชาวบ้านเรียกว่า ....กุดศอก.... เพราะลักษณะสภาพพื้นที่ของกุดซินมีลักษณะงอเหมือนแขนศอก ชาวบ้านจึงเรียกว่า ....กุดศอก... เมื่อถึงฤดูร้อนหน้าแล้งเดือนเมษายน พืชพรรณไม้ที่ขึ้นในบริเวณกุดซิน ซึ่งได้แก่ ต้นแซง ต้นไผ่ป่าและพรรณไม้ป่าทามอื่น ๆ ก็จะถูกไฟไหม้ไปบ้าง แต่เนื่องจากกุดซินเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำจึงมีบางแห่งเป็นแอ่งน้ำมีทั้งลึกและ น้ำตื้น ทำให้มีสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกมรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและในน้ำก็มีปลามาอาศัยอยู่มากมายหลายชนิด จากสภาพพื้นที่กุดซินที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพรรณไม้และสัตว์ป่านา ๆ ชนิดกุดซินจึงเป็นแหล่งไล่ล่าหาอาหารของชาวบ้านในบริเวณพื้นที่โดยรอบกุดซิ น วันหนึ่งมีกลุ่มชาวบ้านผู้หญิงมาขุดหามันแซงบริเวณกุดซินหลังจากที่ได้มัน แซงมากพอแล้ว จึงพากันลงอาบน้ำที่กุดซิน แล้วก็กลับบ้าน เผอิญมีผู้หญิงลืมผ้าถุงทิ้งไว้ (ผ้าถุง เดิมชาวอีสานเรียกว่า...ซิ้น...) วันต่อมาจึงได้กลับมาเอาผ้าซิ้นที่ลืมไว้ที่กุดซิน ปรากฏว่าผ้าซิ้นที่ลืมไว้นั้นถูกลิงป่าฉีกผ้าซิ้นออกเป็นชิ้นละเอียด หมดแล้ว ชาวบ้านจึงเรียก...กุดศอd... ว่าเป็น ...กุดซิน... ตั้งแต่นั้นมา (เรื่องเล่า : พ่อจันทร์ เครือจันทร์)
ความเชื่อของชาวบ้านกับพื้นที่กุดซิน
เมื่อก่อนนั้น ยายแฮม เป็นคนบ้านหนองแสง มาทำนาทามที่บริเวณพื้นที่ดอนแก้วช่วงหลังมายายแฮมจึงมีผีมาเข้าสิง ยายแฮมจึงได้ใช้วิญญาณผีสิงนั้นไปรักษาคนป่วยในพื้นที่ โดยใช้นามว่า ..แม่แก้ว.. คนทั่วไปจึงเรียกยายแฮมว่า ..แม่แก้วดอนแก้ว... คือเมื่อมีคนป่วยมาบอกให้ยายแฮมไปรักษา ยายแฮมก็จะเรียกให้แม่แก้วดอนแก้วเข้าสิง การรักษาในครั้งนั้นมีความน่าเชื่อถือมาก เช่น เมื่อบอกว่าคนที่ป่วยจะตายคนที่ป่วยนั้นก็เป็นไปตามนั้น เป็นต้น การเรียกแม่แก้วดอนแก้วเข้าสิงจะเป็นลักษณะ ..รำแม่มด.. หรือบางคนเรียกยายแฮมว่าเป็น..นางเทียม... ความเชื่อกับความศักดิ์สิทธิ์ของกุดซิน จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่าว่าชาวบ้านที่มาเลี้ยงวัวเลี้ยงควายในพื้นที่กุด ซิน ก่อนที่จะกินข้าวตอนเที่ยงวัน ชาวบ้านก็จะต้องเรียกหาเรียกให้มากินข้าวด้วยเสมอ .... ความเชื่อของผู้คนที่เข้ามาที่พื้นที่กุดซินจะต้องพูดดี พูดงาม พูดแต่สิ่งที่ดีดีกับเจ้าแม่ดอนแก้ว เมื่อไล่วัวควายจะข้ามฝากระหว่างฝั่งชุมพลบุรีกับฝั่งสตึกบริเวณพื้นที่กุด ซิน ชาวบ้านจะเรียกหาเจ้าแม่ดอนแก้ว เช่น ...เอาเด้อ เจ้าพ่อ เจ้าแม่กุดซินเอ้ย ดูแลรักษาเด้อ? เป็นประจำ ซึ่งมีครั้งหนึ่งที่ชาวบ้านนำวัวข้ามฝากแล้วไม่ได้เรียกหา ปรากฏว่าวัวจมน้ำเกือบตาย ดังนั้นเมื่อน้ำไหลหลากในฤดูน้ำหลากมาครั้งใดชาวบ้านจะต้องเตรียมขันหมาก กอกยามาวางถวายเสมอ ซึ่งเมื่อครั้งที่วัวจมน้ำตายนั้น ชาวบ้านก็ไปดูหมอดู หมอดูก็บอกว่า เจ้าของวัวไม่ได้บอกเจ้าท่า เจ้าพ่อกุดซินจากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ทุกคนที่นำวัวควายข้ามฝั่งบริเวณ นั้นก็เข้าใจและต้องเรียกหา เจ้าพ่อกุดซินทุกครั้ง (คำบอกเล่าของพ่อทองนาค ชุมพลบุรี)ชาวบ้านในพื้นที่ฝั่งตำบลสะแก ก็มีครอบครัวของพ่อสอน พลสมัคร ที่เกิดโรคระบาดเกี่ยวโรควัวควายขึ้น พ่อสอนจึงนำวัวควายมาเลี้ยงในพื้นที่กุดซิน ในครั้งนั้นแม่ใหญ่หมาตุ้ย เป็นคนชอบดุด่าว่ากล่าวลูกหลาน ลูกหลานจึงโกรธจึงหลุดปากบอกให้เจ้าพ่อกุดซินมาบิดปากแม่ใหญ่หมาตุ้ยหน่อย ปรากฏว่า 2-3 วันต่อมา แม่ใหญ่หมาตุ้ยก็ปากเบี้ยวจริง ๆ และหลังจากที่ได้จัดพาหวานมาถวาย (พาหวาน 4 คำ หมาก 2 คำ ยา 2 กอก) แล้วมาอ่อนมายอมขอขมากับเจ้าพ่อกุดซิน จึงทำให้แม่ใหญ่หมาตุ้ยหายจากอาการปากเบี้ยวใน 2-3 วันต่อมา
จากเหตุการณ์ดังกล่าวยิ่งทำให้ชาวบ้านเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของกุดซินมากยิ่ง ขึ้นความเชื่อของชาวบ้านกับพื้นที่กุดซิน ที่ได้พบกับเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในสถานที่จริงเกี่ยวกับคน สัตว์ ในอดีตกว่า 50 ปี เริ่มจากเกิดเหตุการณ์ขึ้นคนป่วยหรือชาวบ้านจะไปดูหมอมอแล้วหมอมอก็จะบอก ว่า เจ้าพ่อกุดซินมาเป็นผู้ทำให้เกิดปรากฏการณ์นั้นเสมอ ดังนั้นบทสรุปของชาวบ้านยังยืนยันว่า กุดซินมีเจ้าของรักษาอยู่เพราะเหตุการณ์ที่เกิดกับตัวเอง หรือเกิดกับวัว ควายที่เทียมแอกเทียมเกวียนนั้น วัวหาย วัวควายล้มตายลง แต่เมื่อมีการไปอ้อนวอนจากเจ้าพ่อกุดซินก็หายไปหรืออาการต่าง ๆ ก็จะดีขึ้นในปัจจุบันชาวบ้านที่ทำนารอบ ๆ กุดซิน ก่อนที่จะทำนาจะต้องจัดหาพาหวานมาถวายบอกเล่าก่อนทุกครั้ง.....(คำบอกเล่า พ่อสอน พลสมัคร)
ปลาในพื้นที่กุดซิน
ปลาในกุดซิน ปลาในวงศ์ปลาขาวมีน้อยเพราะปลาขาวชอบอยู่น้ำสะอาด ส่วนปลากระสง ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ปลาไหล ชอบอาศัยในพื้นที่กุดซิน ปลาบางส่วนเป็นปลาที่เข้ามาจากลำน้ำมูล เมื่อน้ำลงหรือน้ำลด ปลาวงศ์ปลาตะเพียนจะลงไปลำน้ำมูล จากการดักต่ง ดักต้อน จะพบว่าปลาหมอ ปลากระสง ปลาช่อน ปลาดุก จะเข้ามากุดคืน ส่วนการดักไซ จะถูกปลาขาว ซึ่งเป็นปลาที่ต้องการกลับไปยังลำน้ำมูลตามเดิม พฤติกรรมทั่วไปของปลาขาวชอบพื้นที่โล่งไม่ชอบที่รก ส่วนพื้นที่กุดซินเป็นที่รกมักจะมีปลาสลิด ปลากระดี่ ปลาตอง ปลาดุก ประกระสง ปลาหมอ ส่วนปลาขาวจะอยู่รายรอบนอก (พ่อสอน พลสมัคร) การอนุรักษ์กุดซินจึงเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาไปในตัวด้วย
การพัฒนากับการเพิ่มจำนวนประชากรของนกในกุดซิน
เมื่อ พ.ศ.2514 ผู้ใหญ่สอน พันธุ์ฉลาดได้นำพาชาวบ้านไปปั้นฝายเล็ก ๆ กักเก็บน้ำเพื่อป้องกันไฟป่าลงไปในกุดซิน ทำให้พื้นที่กุดซินมีน้ำขังบ้างในหน้าแล้ง การเปลี่ยนแปลงของประชากรนกและปลายังไม่มีนากนัก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2536 ผู้ใหญ่เสน ยิงรัมย์ ชาวบ้านพยายามที่จะให้มีการสร้างทำนบดินเพื่อเก็บกักน้ำให้ใหญ่ขึ้น แต่ก็ยังไม่สำเร็จ แต่ในขณะนั้นพบว่ามีนกเข้ามาหลายชนิดที่เด่นชัดคือ ?นกแขวก? มีขนาดใหญ่และทำอาหารได้และมีรสชาติดี อร่อย ชาวบ้านดีใจว่าจะได้มีอาหารเพิ่มมากขึ้น ความสมบูรณ์ของพื้นที่รอบ ๆ กุดซินมีพรรณไม้พวกมะกอกน้ำ มะดัน และยังมีเห็ดชนิดต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ในบริเวณพื้นที่ร่องน้ำตอนกลางของกุดซินจะมีเฟิร์นชนิดต่าง ๆ นำมาทำเป็นอาหารได้ ดังนั้นปี พ.ศ.2536 นี้ จึงเป็นปีที่ชาวบ้านมะพริกและชาวบ้านในตำบลสะแกมีความสุขกับการไล่ล่านกแขวก เป็นอย่างยิ่ง ที่น่าสนุกเป็นอย่างยิ่งในการไล่ล่าเพราะมีผู้นำทีมล่าซึ่งก็คือผู้ช่วยบุญ เลี้ยง พรมศรีนั่นเอง แต่การไล่ล่านั้นไม่ได้เอาไปขายเพียงแต่เอาไปเป็นอาหารประจำวันเท่านั้น เมื่อยิงล่ามากขึ้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงเกิดความคิดสงสารกับนกที่ถูกล่านั้น แล้วแนวคิดการอนุรักษ์จึงบังเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 นายบุญเลี้ยง พรมศรีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านมะพริก หมู่ที่ 12 มีชาวบ้านส่วนหนึ่งได้ยื่นเรื่องการปิดป่า ต้องการอนุรักษ์นกในพื้นที่กุดซินเพื่อรักษาไว้ให้ลูกหลานได้ดูในโอกาสต่อไป จึงทำให้จำนวนนกมีมากขึ้นตามลำดับ ปี พ.ศ. 2543 คณะกรรมการหมู่บ้านได้ส่งพื้นที่ป่ากุดซินเข้าคัดเลือกให้เป็นป่าชุมชน แต่เนื่องสภาพพื้นที่ในปีนั้นน้ำท่วมหนัก จึงไม่ได้รับคัดเลือกในปีนั้น แต่จำนวนนกแขวกก็มีมากขึ้นเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่กุดซินมีทั้งบนบกและในน้ำ จึงทำให้กุดซินเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชนตำบลสะแก ในฤดูแล้งบนบกจะมีนกให้ไล่ล่าอย่างสนุกสนานซึ่งได้แก่ นกเค้าแมว นกกระปุด นกไก่นา และนกประจำถิ่นอื่น ๆ ส่วนในน้ำก็มีปลามากมายหลายชนิด ดังนั้นกุดซินจึงเป็นแหล่งไล่ล่าสัตว์ปีกและสัตว์น้ำเพื่อไปทำอาหาร โดยเฉพาะสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาตอง ปลากระสง ปลาบู่ ปลาสลิด และเต่าชนิดต่างๆ เป็นต้น นายพรานกลุ่มที่ไล่ล่าสัตว์จำพวกนกในกุดซิน จะใช้ปืนแก๊บหรือปืนเพลิง โดยทางรัฐบาลได้ตีพิมพ์ปืนและออกใบอนุญาตให้มีไว้ครอบครองได้ โดยอาศัยช่วงฤดูแล้งที่เก็บเกี่ยวผลผลิตจากการทำนาแล้วมาร่วมกันล่าสัตว์ปีก จำพวกนกมาเป็นอาหาร ?แดดร้อน ๆ นกกระปูดบินไม่ได้ 3-4 พุ่มไม้หรอก...? นายพรานนกคนหนึ่งพูดขึ้น เพราะนกกระปูดทนแดดไม่ได้ ในการไล่ล่านั้นต้องมีหมาพรานไปด้วย นกจึงน้อยลงทุกที ปี 2536 เป็นปีที่มีผู้ผลิตปืนแก๊บหรือปืนเพลิงในหมู่บ้านของบ้านมะพริก
ดังนั้นกิจกรรมการไล่ล่านกในพื้นที่กุดซินจึงเป็นกิจกรรมที่สนุกและเอา เปรียบสัตว์ป่าที่เป็นชนิดมีปีกเช่นนกกวักอย่างน่าเสียดาย แต่หลังจากที่ชาวบ้านมีกิจกรรมล่านกติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เข้า ทีมนายพรานนักล่านกเหล่านั้น จึงเกิดความสงสารและเกิดความคิดในการอนุรักษ์นกขึ้นในเวลาต่อมาที่มาของคำ ว่า ....ดอนแก้ว... ยายแฮมเป็นคนบ้านหนองแสง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ อยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่กุดซิน มาทำนาที่ดอนแก้ว(ที่ตั้งศาลเจ้าพ่อกุดซิน เจ้าแม่ดอนแก้วปัจจุบัน) ต่อมายายแฮมป่วย และมีเจ้าพ่อเจ้าแม่มาเข้าสิง มีคนถามยายแฮมจะบอกชื่อตนเองว่าเป็นเจ้าพ่อกุดซินกลางดอนแก้ว แล้วยายแฮมจึงเปลี่ยนไปรักษาคนป่วย โดยที่ชาวบ้านเรียกยายแฮมว่า ...แม่แก้ว...หรือ...แม่แก้วดอนแก้ว... ความศักดิ์สิทธิ์ของแม่แก้วดอนแก้วที่ไปรักษาคนป่วยแล้วหาย และคำพูดที่ศักดิ์สิทธิ์ ประกอบคำเรียกว่า ...ดอนแก้ว... ที่มีผู้คนเรียกมาก่อน จึงเป็นคำเรียกขานว่าเนินที่อยู่ระหว่างกลางโค้งข้อศอกของกุดซินมาจนถึง ปัจจุบัน (พ่อทองนาค ชุมพลบุรี)
แหล่งข้อมูล :
เจริญ เครือแวงมนต์. (2549). "ศึกษาสภาพกุดซิน บ้านมะพริก ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์"
ครู คศ.3 โรงเรียนบ้านโคกเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
ภาพ/คำบรรยายประกอบเพิ่มเติม : ดร.สุวัฒน์ อุ่นทานนท์
Keyword :
แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ, หนองน้ำ, กุด, ห้วย, แม่น้ำมูล, แม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน, แหล่งน้ำธรรมชาติภาคอีสาน